หน้าแรก แท็ก ประวัติศาสตร์

แท็ก: ประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑ์ภาพเชียงราย

พิพิธภัณฑ์ภาพเชียงราย หรือศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า ตั้งอยู่ ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นอาคารหลังที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ รูปแบบอาคาร เป็นทรงยุโรปแบบโคโลเนียล ก่ออิฐถือปูน 3 ชั้น ด้านหน้าเป็นรูปโค้ง มีโถงทางเดินเชื่อมตลอด ไม่ใช้เสา และคานคอนกรีต ภายในแสดงภาพเก่าของจังหวัดเชียงราย ประกอบสื่อวีดีทัศน์ ส่วนประชาสัมพันธ์ : ฝ้าเหนือส่วนประชาสัมพันธ์แสดงสัญลักษณ์อาณาจักรล้านนา ชั้นที่ 1 : ในแต่ละห้อง จะจัดแสดงภาพเจ้านายฝ่ายเหนือ ชาวบ้าน ชาวเขา...

วัดงำเมือง – กู่พญามังราย

วัดงำเมือง (วัดพระธาตุดอยงำเมือง) เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งกู่พญามังราย (สถูปบรรจุพระอัฐิของพญามังราย) ตามประวัติเล่าว่าหลังจากที่พญามังเรายสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ พญาไชยสงครามผู้เป็นพระโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพพญามังราย และพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์แทน ต่อมาภายหลังได้กลับมาครองเมืองเชียงราย จึงได้อัญเชิญพระอัฐิของพญามังรายมาประดิษฐาน ณ สถูปบนดอยงำเมืองแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๖๐ กู่พญามังราย กู่พญามังรายมีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์ทรงปราสาทยอดเดียวแบบล้านนา ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังอยู่ในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นรูปทรงที่นิยมสร้างในช่วงยุคทองของล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑)

พิพิธภัณฑ์ทหาร บ้านจอมพล ป.พิบูลสงคราม

พิพิธภัณฑ์จังหวัดทหารบกเชียงราย บ้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่น่าศึกษาสำหรับคนรุ่นหลัง ที่ตั้ง : บนดอยจอมทอง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย บ้านพักจอมพล ป.พิบูลสงคราม อดีตนายก รัฐมนตรีของไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ.2484 เพื่อใช้เป็นบ้านพักรับรองขณะที่ไปตรวจราชการ และใช้เป็นศูนย์บัญชาการกองทัพภาคพายัพ ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพาในปี พ.ศ. 2485 โดยส่งทหารเข้าไปรบที่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า เป็นบ้านพัก 2 ชั้น...

วัดมิ่งเมือง หรือ วัดจ๊างมูบ ของชาวเชียงราย

วัดมิ่งเมือง วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง พบหลักฐานว่ามีอายุกว่า 800 ปี ซึ่งยาวนานเท่ากับการสร้างเมืองเชียงราย พระธาตุมิ่งเมือง เป็นปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดเชียงราย แต่เดิมเป็นวัดไทใหญ่ เนื่องด้วยในสมัยก่อนมีชุมชนไทใหญ่อาศัยอยู่รอบบริเวณวัด ประกอบกับมีศิลปะของศาสนสถานและศาสนวัตถุแบบพม่า จึงเรียกขานกันว่าเป็น วัดเงี้ยว แต่ชื่อที่คุ้นหูของชาวเชียงรายคือ "วัดจ๊างมูบ" ซึ่งเป็นชื่อเรียกภาษาเหนือที่แปลว่า "วัดช้างหมอบ" ปัจจุบันภายในวัดยังคงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุอยู่หลายอย่าง ซึ่งล้วนแต่เป็นศิลปะผสมศิลปะล้านนากับศิลปะพม่า และมีปูชนียวัตถุสำคัญคือ พระบรมสารีริกธาตุประดดิษฐาน ณ พระเจดีย์โบราณ ที่ได้รับการประธานจาก สมเด็จพระญาณสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราช...

พระธาตุดอยตุง

"พระธาตุดอยตุง" เป็นพระธาตุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดเชียงราย ซึ่งมีความเก่าแก่ สวยงาม และตั้งอยู่บนยอดเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางราว 2,000 เมตร ซึ่งมองเห็นวิวธรรมชาติ ของเมืองเชียงรายได้อย่างเต็มตา พระธาตุดอยตุงมีลักษณะ เป็นเจดีย์สีทองอร่าม 2 องค์คู่กันในรูปแบบทรงปราสาทยอดทรงระฆังกลมขนาดเล็ก ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยม กรุกระเบื้องดินเผา และถือเป็นพระธาตุประจำปีกุนซึ่งปีกุนในคติล้านนานั้น สัญลักษณ์คือช้าง (กุญชร) ไม่ใช่หมูดังที่เราเข้าใจกัน นอกจากนี้เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ชาวหลวงพระบาง...

ไร่แม่ฟ้าหลวง

"ไร่แม่ฟ้าหลวง" ย้อนกลับไปเมื่อปี 2515 “มูลนิธิส่งเสรืมผลผลิตชาวเขาไทย” ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จะระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยได้รับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวนหนึ่งแสนบาทเป็นทุนเริ่มต้น ทั้งยังทรงเป็นองค์นายิกากิติมศักดิ์ขององค์กรนี้ โดยวัตถุประสงค์ของการตั้งมูลนิธิก็เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา และเพื่อรักษาศิลปหัตถกรรมของหมู่ชาวเขาด้วย กระทั่งปี 2528 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง” และขยายขอบเขตความช่วยเหลือครอบคลุมไปถึงราษฎรชาวไทยในพื้นที่ราบด้วย ในยุคแรกๆมูลนิธิได้จัดโครงการส่งเสริมการฝึกและสร้างสมลักษณะผู้นำเยาวชนที่อยู่ห่างไกลการคมนาคมและส่วนใหญ่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยมูลนิธิให้ทุนการศึกษาและให้พักอาศัยอยู่ใน “ไร่แม่ฟ้าหลวง” ไร่แม่ฟ้าหลวงอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของเมืองเชียงราย  ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมแห่งความสงบงามอย่างล้านนา ร่มรื่นและร่มเย็นด้วยหมู่ไม่นานพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบและแรงบันดาลใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ เป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม...

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช

หากเพื่อนๆนักท่องเที่ยวได้มาเยือนจังหวัดเชียงราย สิ่งสำคัญที่มาให้ถึงเชียงรายก็คือการที่ได้มาสักการะบูชาพ่อเมือง พ่อขุนเม็งรายมหาราช หรือ"พญามังราย" เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงรายมาแต่ช้านานมาแล้ว ซึ่งผู้คนในจังหวัดเชียงรายให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงราย บริเวณทางแยกที่จะไปอำเภอแม่จัน หรือที่ชาวเชียงรายเรียกกันว่า ห้าแยกพ่อขุน พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781 ประวัติพ่อขุนเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงราย พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง...