ไร่แม่ฟ้าหลวง

3848

“ไร่แม่ฟ้าหลวง”

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2515 “มูลนิธิส่งเสรืมผลผลิตชาวเขาไทย” ได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จะระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยได้รับพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวนหนึ่งแสนบาทเป็นทุนเริ่มต้น ทั้งยังทรงเป็นองค์นายิกากิติมศักดิ์ขององค์กรนี้ โดยวัตถุประสงค์ของการตั้งมูลนิธิก็เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชาวเขา และเพื่อรักษาศิลปหัตถกรรมของหมู่ชาวเขาด้วย กระทั่งปี 2528 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง” และขยายขอบเขตความช่วยเหลือครอบคลุมไปถึงราษฎรชาวไทยในพื้นที่ราบด้วย

ในยุคแรกๆมูลนิธิได้จัดโครงการส่งเสริมการฝึกและสร้างสมลักษณะผู้นำเยาวชนที่อยู่ห่างไกลการคมนาคมและส่วนใหญ่ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยมูลนิธิให้ทุนการศึกษาและให้พักอาศัยอยู่ใน “ไร่แม่ฟ้าหลวง”

ไร่แม่ฟ้าหลวงอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของเมืองเชียงราย  ปัจจุบันเป็นอุทยานศิลปะและวัฒนธรรมแห่งความสงบงามอย่างล้านนา ร่มรื่นและร่มเย็นด้วยหมู่ไม่นานพันธุ์ เหมาะสำหรับผู้แสวงหาความสงบและแรงบันดาลใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ เป็นที่จัดแสดงงานศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ละคร งานเลี้ยงรับรอง และประกอบพิธีกรรมพื้นเมือง งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติอันสงบและศักดิ์สิทธิ์ ในอาณาบริเวณไร่แม่ฟ้าหลวงมีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นได้แก่

หอคำ เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาซึ่งมีหลังคามุงด้วยแผ่นไม้สัก ชาวเชียงรายร่วมกันสร้างเพื่อ “ไหว้สาแม่ฟ้าหลวง” ถวายเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเจริญพระชนมายุ 84 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2527 อันเป็นฝีมือช่างไม้พื้นบ้านในจังหวัดเชียงรายและแพร่

ภายในหอคำเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและงานพุทธศิลป์อายุกว่า 400 ปี มีทั้งพระพุทธรูปแบบล้านนา พม่า และเครื่องไม้แกะสลักที่ในในการพระศาสนา เช่น สัตภัณฑ์ (เชิงเทียนไม้เก่าแก่) ตุงกระด้าง(ตุงหรือธงไม้) ขันดอก (ภาชนะใส่ดอกไม้ธูปเทียนบูชาพระ)

บรรยากาศภายในหอคำศักดิ์สิทธิ์และขรึมขลัง ให้ความรุ้สึกที่อธิบายได้ยาก แสงเที่ยนที่วับแวมอยู่ในความสลัวชวนให้เกิดความปีติจับใจพระพุทธรูปองค์สำคัญในหอคำ คือพระเจ้าพร้าโต้ ซึ่งมีจารึกว่าสร้างในปี พ.ศ. 2236 โดยชาวบ้านซึ่งพึ่งย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่และยังไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมสนการสลักเสลาพระพุทธรูปไม้ให้ประณีตจึงใช้เพียงมีโต้เป็นเครื่องมือแกะสลักพระพุทธรูปมีลักษณะแข็งแรงและสง่างาม

หอคำน้อย การเดินเล่นในอุทยานแห่งนี้เป็นประสบการณ์พิเศษ ภายในอุทยานมีไม้ป่านานพันธุ์ มีพระรูปปั้นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อันเป็นผลงานของคุณ มีเรียม ยิบอินซอย

หอคำน้อย เป็นอาคารศิลาแลงหลังคาเป็นเกล็ดไม้สัก เป็นที่เก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีฝุ่นบนกระดานไม้สัก สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในช่วงต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยช่างเขียนชาวไทยลื้อ ภาพแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ การแต่งกาย และวัฒนธรรมล้านนาเมื่อกว่าร้อยปีมาแล้ว

หอแก้ว จากหอคำนาน้อย เมื่อเดินผ่านป่าสมุนไพรไปทางทิศใต้ จะพบอาคารหลังใหญ่สถาปัตยกนรรมล้านนาประยุกต์ คือ “หอแก้ว” ซึ่งมีพื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ทำกิจกรรม เช่น การประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง ฯลฯ มีระเบียงยื่นลงไปในสระน้ำกว้างใหญ่ เหมาะแก่การสังสรรค์อันรื่นรมย์ และปลอดโปร่งใจ อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ ทั้งนิทรรศการหมุนเวียน และนิทรรศการถาวร นิทรรศการถาวรเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับไม้สัก ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ในฐานะที่เป็นวัสดุอันเลื่องชื่อสำหรับสร้างสรรค์งานศิลปะ

อุทยานศิลปะและวัฒนธรรม บนเนื้อที่กว่า 150 ไร่ กลางเมืองเชียงราย เป็นที่เก็บรักษาศิลปะวัตถุอันล้ำค่าของวัฒนธรรมล้านนา เชิญนมัสการพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในหอคำ ชมงานนิทรรศการเรื่องไม้สัก พร้อมชมงานศิลปะพื้นบ้านในหอแก้ว ล้อมรอบตัวด้วยบึงน้ำอันสงบเงียบ มีสวนไม้หอมและพฤกษานานาพันธ์

วันและเวลาดำเนินการ   ปิดเฉพาะวันจันทร์ / เวลาดำเนินการ 08.00 – 18.00 น.
อัตราค่าเข้าชม
           บุคคลทั่วไป
– คนไทย              150 บาท / คน
– คนต่างชาติ         200 บาท / คน
หมายเหตุ * เด็กต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าเข้าชม

ติดต่อสอบถามได้ที่   ไร่แม่ฟ้าหลวง 313 หมู่ 7 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
โทรศัพท์ 053-601013, 053-711968 โทรสาร 053-712429, อีเมลล์ rmfl@doitung.org