อำเภอเชียงแสน

2056

ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน แดนสามเหลี่ยม
เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ

อำเภอเชียงแสน  เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ มีซากโบราณสถานของเมืองเชียงแสนเก่าอยู่ในบริเวณตัวอำเภอ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญในภาคเหนือ นอกจากนี้เชียงแสนมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อันเป็นบริเวณที่บรรจบกันของชายแดนสามประเทศ คือ ไทย ลาว และพม่า

ที่ตั้งและอาณาเขต  อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสนปรากฏอยู่ในเอกสารตำนานหลายฉบับ ซึ่งเรื่องราวส่วนใหญ่จะมีความคล้ายกัน โดยปรากฏเรื่องราวของชุมชนโบราณในเขตที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงราย ในระยะก่อนสร้างเมืองเชียงแสน ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มต้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 จากการที่พระเจ้าสิงหนวัติกุมารได้อพยพลงมาจากนครไทยเทศ ซึ่งอยู่ในทางตอนเหนือล่องมาตามแม่น้ำโขงและมาตั้งบ้านเมืองขึ้นชื่อว่า นาคพันธ์สิงหนวัตินคร ในแผ่นดินของพระเจ้าสิงหนวัติกุมารนั้นได้มีการรวบรวมดินแดนให้เป็นปึกแผ่นได้รวมเอาชาวมิลักขุและปราบปรามพวกกลอมหรือขอมให้อยู่ใต้อำนาจ หลังจากนั้นได้มีกษัตริย์หลายพระองค์ครองเมืองโยนก

นาคพันธุ์สืบมาจนกระทั่งถึงรัชกาลพระเจ้ามหาชัยชนะก็เกิดอาเพศ จนบ้านเมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำต่อมาได้ปรากฏเรื่องราวอีกช่วงหนึ่ง เป็นส่วนที่กล่าวถึงปู่เจ้าลาวจกหรือลวจังกราชว่าได้ลงมาจากยอดภูเขา และได้สถาปนาเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ลวจังกราช ขึ้นปกครองแว่นแคว้นไชยวรนครเชียงราวหรือแคว้นโยนกซึ่งก็คือบ้านเมืองในบริเวณที่ราบลุ่มจังหวัดเชียงรายทุกวันนี้

                   สำหรับเรื่องราวของเมืองเชียงแสนนั้น มีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารอย่างชัดเจนว่า พระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพระเจ้ามังราย ทรงสร้างเมืองขึ้นบริเวณซากเมืองรอยเก่าริมฝั่งแม่น้ำโขงเมื่อ พ.ศ. 1871 และขนานนามว่าเมืองหิรัญนครชัยบุรีศรีช้างแสนซึ่งก็เชื่อกันว่าเมืองรอยเก่านั้นก็คือเมืองหิรัญนครเงินยางนั่นเองหลังจากที่พระเจ้าแสนภูได้ขึ้นมาครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่แล้วต่อมาทรงย้ายมาอยู่ที่เมืองเชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ

                   สาเหตุที่พระเจ้าแสนภูสร้างเมืองและประทับอยู่เมืองเชียงแสนนั้นเพราะเป็นเหตุผลด้าน ยุทธศาสตร์ในการป้องกันข้าศึกที่มาทางด้านเหนือและเพื่อควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาตอนบนไว้ให้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจ ด้วยเหตุนี้ในสมัยล้านนาตอนต้นศูนย์กลางของอาณาจักรและพระศาสนา จึงอยู่ที่เมืองเชียงแสน ดังนั้นจึงปรากฏมีร่องรอยโบราณสถานในสมัยล้านนาตอนต้นอยู่ในเขตเมืองเชียงแสนค่อนข้างมาก ในช่วงเวลาที่ล้านนาตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า ในพ.ศ.2244 พม่าได้แบ่งแยกการปกครองล้านนาออกเป็น 2 ส่วน เพื่อป้องกันกบฏส่วนแรกได้แยกเมืองเชียงแสนออกจากอำนาจของเมืองเชียงใหม่ให้เมืองเชียงแสนได้ขึ้นตรงต่อกรุงอังวะ ถือเป็นประเทศราชมณฑลหนึ่งและอยู่ภายใต้อำนาจของข้าราชการพม่าโดยตรง โดยให้เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ คือ เมืองกาย เมืองไร เมืองเลน เมืองแหลว เมืองพยาก เมืองเชียงราย และเมืองหลวงภูคา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครลำปาง เมืองฝาง เมืองสาด เมืองเชียงของ และเมืองเทิง ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงแสน ส่วนเมืองที่เหลือขึ้นอยู่กับเมืองแม่ในช่วงเวลานี้ฐานนะของเมืองเชียงแสน ได้มีความสำคัญขึ้นอีกครั้งและได้เป็นฐานที่มั่นสำคัญของพม่าในการควบคุมบ้านเมืองและดินแดนล้านนา พม่าควบคุมเมืองเชียงแสนไว้จน พ.ศ.2347พระยากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่กับกรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยายมราชได้ยกทับเข้าตีเมืองเชียงแสนได้สำเร็จ และได้กวาดต้อนผู้คนจำนวน22,000 ครอบครัวจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ย้ายถิ่นฐานในเมืองต่าง ๆ ของล้านนา เช่นเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทร์ อีกกลุ่มหนึ่งส่งไปยังเมืองกรุงเทพฯ  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ ตำบลเสาให้ จ.สระบุรี และที่ ต.คูบัว จ.ราชบุรี ต่อมาเมืองเชียงแสนจึงกลายเป็นเมืองร้าง จนกระทั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯให้เจ้าอินทวิไชย บุตรเจ้า บุญมา เจ้าผู้ปกครองเมืองลำพูน นำราษฎรชาวเมืองลำพูน และราษฎรชาวเมืองเชียงใหม่จำนวน ประมาณ 1,500 ครอบครัวขึ้นไปตั้งถิ่นฐานและฟื้นฟูเมืองเชียงแสนและได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชเดชดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสนจึงได้ฟื้นฟูนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาประมาณ พ..ศ. 2442 ได้มีการย้ายศูนย์การปกครอง ไปอยู่ที่ ต.กาสา ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน ตั้งเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดเชียงราย ส่วนเมืองเชียงแสนยุบลงเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง และต่อมาได้จัดตั้งเป็นอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายเมื่อพ.ศ. 2500 มาจนทุกวันนี้

แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเชียงแสน

  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
  • วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
  • วัดพระเจ้าล้านทอง
  • วัดป่าสัก
  • วัดพระธาตุผาเงา
  • วัดเจดีย์เจ็ดยอด
  • วัดพระธาตุจอมกิตติ
  • วัดสังฆาแก้วดอนหัน
  • ทะเลสาบเชียงแสน หรือ หนองบงคาย
  • ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ
  • หอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
  • พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น
  • พระธาตุดอยปูเข้า